เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ (64)
[215] ญาณวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ญาณวิโมกข์ 1 เป็นญาณวิโมกข์ 10 ญาณวิโมกข์ 10 เป็นญาณวิโมกข์ 1
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้น
จากความไม่รู้คือความหลงว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ อนัตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ นิพพิทานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่านันทิ(ความยินดี) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าราคะ(ความกำหนัด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณ-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความดับ)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าสมุทัย(เหตุเกิด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส(ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีนิมิต) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่านิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าปณิธิ(ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :357 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณา
เห็นความว่าง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอาทานะ(ความยึดถือ) เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ 1 เป็นญาณวิโมกข์ 10 ญาณวิโมกข์ 10
เป็นญาณวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ 1 เป็นญาณวิโมกข์ 10 ญาณวิโมกข์ 10 เป็นญาณวิโมกข์ 1
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่า
อาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ 1 เป็นญาณวิโมกข์ 10
ญาณวิโมกข์ 10 เป็นญาณวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็น
อย่างนี้ นี้ชื่อว่าญาณวิโมกข์ (65)
[216] สีติสิยาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สีติสิยาวิโมกข์ 1 เป็นสีติสิยาวิโมกข์ 10 สีติสิยาวิโมกข์ 10 เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจาก
ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอัตตา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :358 }