เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ (ญาณคือ
การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้นจากสุขสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญา-
วิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
อัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจากนันทิสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากราคสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความดับ) พ้นจากสมุทยสัญญา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน) พ้นจากอาทานสัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่
มีนิมิต) พ้นจากนิมิตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากปณิธิสัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็น
ความว่าง) พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วย
อำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอภินิเวส เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10
เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :356 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ (64)
[215] ญาณวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ญาณวิโมกข์ 1 เป็นญาณวิโมกข์ 10 ญาณวิโมกข์ 10 เป็นญาณวิโมกข์ 1
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้น
จากความไม่รู้คือความหลงว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ อนัตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ นิพพิทานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่านันทิ(ความยินดี) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าราคะ(ความกำหนัด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณ-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความดับ)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าสมุทัย(เหตุเกิด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส(ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีนิมิต) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่านิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าปณิธิ(ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :357 }