เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
[213] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ชื่อว่าอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (40)
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด”
นี้ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (41)
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติได้โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
นี้ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ (42)
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติวิโมกข์ (43)
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ นี้ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติวิโมกข์ (44)
สมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าสมยวิโมกข์ (45)
อสมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสมยวิโมกข์ (46)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :353 }