เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ 4 ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌาน หรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌาน หรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌาน หรือวิบากแห่งตติยฌาน การได้จตุตถฌาน หรือวิบาก
แห่งจตุตถฌาน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (4-28)
วิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (4-32)
วิโมกข์ 4 ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค
อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4
ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (4-36)
[212] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น
ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้
เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรง
จำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้
โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอก
นี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ (37)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :351 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอก
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน จึงไม่ได้
นีลสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำ
นิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราไม่มีความหมายรู้ว่าเป็นรูปในภายใน นิมิต
สีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมไม่ได้โอทาตสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก
ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “ไม่มี
รูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอกอย่างนี้ (38)
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ฯลฯ ทิศที่ 2 ฯลฯ
ทิศที่ 3 ฯลฯ ทิศที่ 4 ฯลฯ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่
เกลียดชัง
มีกรุณาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีมุทิตาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่เกลียดชัง
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้นอย่างนี้ (39)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :352 }