เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย (และ)อวิชชานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 จาก
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (4-12)
[211] วิโมกข์ 4 อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต(จิตที่มีอารมณ์เดียว) เพื่อประโยชน์
แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้ทุติยฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การ
ได้ตติยฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้จตุตถฌาน
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (4-16)
วิโมกข์ 4 อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยขน์แก่การได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อประโยขน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 อนุโลม
ตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (4-20)
วิโมกข์ 4 อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้
โสดาปัตติมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์
แก่การได้อนาคามิมรรค อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(4-24)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :350 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ 4 ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌาน หรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌาน หรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌาน หรือวิบากแห่งตติยฌาน การได้จตุตถฌาน หรือวิบาก
แห่งจตุตถฌาน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (4-28)
วิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (4-32)
วิโมกข์ 4 ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค
อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4
ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (4-36)
[212] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น
ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้
เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรง
จำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้
โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอก
นี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ (37)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :351 }