เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส

60. อนาสววิโมกข์ 61. สามิสวิโมกข์
62. นิรามิสวิโมกข์ 63. นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์
64. ปณิหิตวิโมกข์ 65. อัปปณิหิตวิโมกข์
66. ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ 67. สัญญุตตวิโมกข์
68. วิสัญญุตตวิโมกข์ 69. เอกัตตวิโมกข์
70. นานัตตวิโมกข์ 71. สัญญาวิโมกข์
72. ญาณวิโมกข์ 73. สีติสิยาวิโมกข์
74. ฌานวิโมกข์ 75. อนุปาทาจิตตวิโมกข์

นิทเทส
[210] สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำอภินิเวส
(ความยึดมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่เป็น
สุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำนิมิตใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำปณิธิ (ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :348 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ตั้งมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 นี้ชื่อว่าอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 นี้ชื่อว่าทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ 4 จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตก วิจาร ตติยฌานออกจาก
ปีติ จตุตถฌานออกจากสุขและทุกข์ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (4)
วิโมกข์ 4 จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
วิญญาณัญจายตนสมาบัติออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญจัญญายตนสมาบัติออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (4-8)
วิโมกข์ 4 จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จาก
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :349 }