เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา อุทเทส
7-10. วิโมกข์ 4 จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
11-14. วิโมกข์ 4 จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
15-18. วิโมกข์ 4 จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
19-22. วิโมกข์ 4 อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
23-26. วิโมกข์ 4 อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
27-30. วิโมกข์ 4 อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
31-34. วิโมกข์ 4 ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
35-38. วิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
39-42. วิโมกข์ 4 ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
43. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
44. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูป
ภายนอก
45. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น
46. อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
47. วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
48. อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
49. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
50. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ 51. สมยวิโมกข์

52. อสมยวิโมกข์ 53. สามยิกวิโมกข์
54. อสามยิกวิโมกข์ 55. กุปปวิโมกข์
56. อกุปปวิโมกข์ 57. โลกียวิโมกข์
58. โลกุตตรวิโมกข์ 59. สาสววิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :347 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส

60. อนาสววิโมกข์ 61. สามิสวิโมกข์
62. นิรามิสวิโมกข์ 63. นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์
64. ปณิหิตวิโมกข์ 65. อัปปณิหิตวิโมกข์
66. ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ 67. สัญญุตตวิโมกข์
68. วิสัญญุตตวิโมกข์ 69. เอกัตตวิโมกข์
70. นานัตตวิโมกข์ 71. สัญญาวิโมกข์
72. ญาณวิโมกข์ 73. สีติสิยาวิโมกข์
74. ฌานวิโมกข์ 75. อนุปาทาจิตตวิโมกข์

นิทเทส
[210] สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำอภินิเวส
(ความยึดมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่เป็น
สุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำนิมิตใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำปณิธิ (ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :348 }