เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก
โลก 1 คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก 2 คือ นาม 1 รูป 1
โลก 3 คือ เวทนา 3
โลก 4 คือ อาหาร 4
โลก 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5
โลก 6 คือ อายตนะภายใน 6
โลก 7 คือ วิญญาณัฏฐิติ 7
โลก 8 คือ โลกธรรม 8
โลก 9 คือ สัตตาวาส 9
โลก 10 คือ อายตนะ 10
โลก 12 คือ อายตนะ 12
โลก 18 คือ ธาตุ 181
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้และ
ในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาในศัตรู
ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น2 พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งอินทรีย์ 5 ประการนี้ ด้วยอาการ 50 อย่างนี้

ตติยภาณวาร จบ
อินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. (แปล) 30/104/355-356
2 ดูเทียบข้อ 112 หน้า 172-174 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :345 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา อุทเทส
5. วิโมกขกถา
ว่าด้วยวิโมกข์

อุทเทส
[209] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น1
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ 3 ประการนี้
วิโมกข์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุญญตวิโมกข์
2. อนิมิตตวิโมกข์
3. อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ 3 ประการนี้แล
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ 68 ประการ2 คือ

1. สุญญตวิโมกข์ 2. อนิมิตตวิโมกข์
3. อัปปณิหิตวิโมกข์ 4. อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์
มีการออกจากอารมณ์ภายใน)
5. พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ 6. ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มี
(วิโมกข์มีการออกจาก การออกจากอารมณ์ทั้งสอง)
อารมณ์ภายนอก)


เชิงอรรถ :
1 สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ 1 (ข้อ 184 หน้า 290 ในเล่มนี้)
2 วิโมกข์ 68 ประการ ถ้าหากนับตามจำนวนเป็น 75 ประการ แต่ท่านให้ตัดวิโมกข์ออกไป 7 ประการ
คือวิโมกข์ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 6 และวิโมกข์ข้อที่ 65 จึงเหลือเพียง 68 ประการ (ตามนัย ขุ.ป.อ.
2/209/171)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :346 }