เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
พระพุทธญาณ 14 ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ 14 ประการนี้ ญาณ 8
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก 6 ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรง
ทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็น
ปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรง
เห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอด
ทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง
ชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
สภาวะที่เป็นเหตุแห่งสมุทัย ฯลฯ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :341 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงรู้แล้ว
ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุ
เป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมี
สภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่า
ตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ
บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด
เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้
บุคคลเมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น
ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
บุคคลเมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น
เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น
บุคคลเมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด
ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อ
จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะ
ความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :342 }