เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ปหานะ 4 คือ
1. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
2. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
3. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
4. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
ปหานะ 5 คือ
1. วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้)
2. ตทังคปหานะ (การละด้วยองค์นั้น ๆ)
3. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
4. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
5. นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้)
การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิ-
สังโยชน์ด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิซึ่งเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะ
เป็นนิโรธ คือพระนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร
คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ
โสตะควรละ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรละ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรละ รส ฯลฯ
กายควรละ โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :34 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรละ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ
เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็น
ชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใด ๆ ที่ละได้แล้ว ธรรรมนั้น ๆ เป็น
อันละได้แล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (3)
ตติยภาณวาร จบ

[25] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ
ธรรม 2 อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ 1 วิปัสสนา 1
ธรรม 3 อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน 4
ธรรม 5 อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ 51
ธรรม 6 อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) 6

เชิงอรรถ :
1 สัมมาสมาธิอันมีองค์ 5 ได้แก่ ความแผ่ซ่านแห่งปีติ, ความแผ่ซ่านแห่งสุข, ความแผ่ซ่านแห่งจิต, ความ
แผ่ซ่านแห่งแสงสว่าง, นิมิตคือการพิจารณา (ขุ.ป.อ. 1/25/137)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :35 }