เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :337 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความดับ ภิกษุย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์ (ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร)
[207] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ1
อินทรีย์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
2. อัญญินทรีย์
3. อัญญาตาวินทรีย์
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ
เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 6 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 1 คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์
ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร
มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความ
สืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 107 หน้า 165 ในอาสวักขยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :338 }