เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 อย่างนี้
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ 12 อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 อย่าง
อะไรบ้าง
คือ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา
1. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
2. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
19. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
20. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ
21. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง
22. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง
23. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ
24. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ในสังขาร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
12 อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 อย่างนี้
เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์ ฯลฯ1 ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มข้อ 168 หน้า 261 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :336 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :337 }