เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ 5 ในอพยาบาท ทำพยาบาทให้สิ้นไป
อินทรีย์ 5 ในอาโลกสัญญา ทำถีนมิทธะให้สิ้นไป
อินทรีย์ 5 ในอวิกเขปะ ทำอุทธัจจะให้สิ้นไป
ฯลฯ1
อินทรีย์ 5 ในอรหัตตมรรค ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์ 5 เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไปอย่างนี้

(6) ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะให้ตั้งอยู่
[203] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มี
ศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ
ผู้มีความเพียรให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในการประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความ
เพียรให้ผู้มีความเพียรตั้งอยู่ในการประคองไว้
ผู้มีสติให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติให้ผู้มีสติตั้งอยู่ใน
ความตั้งมั่น
ผู้มีจิตตั้งมั่นให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นให้ผู้
มีจิตตั้งมั่นตั้งอยู่ในอวิกเขปะ
ผู้มีปัญญาให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาให้ผู้มี
ปัญญาตั้งอยู่ในความเห็น
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ 192-193 หน้า 307-309 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :331 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอพยาบาท อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอพยาบาท
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ฯลฯ1
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ 4 จบ

5. อินทริยสโมธาน
ว่าด้วยการประชุมอินทรีย์
[204] ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้
ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 7 อย่าง พระ
เสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8 อย่าง ท่านผู้ปราศจาก
ราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 7 อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน
1. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
2. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ 192-193 หน้า 307-309 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :332 }