เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ
ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี 2 ประการ คือ
1. ความสละด้วยการบริจาค
2. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี 2 ประการนี้
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้

ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :329 }