เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทของบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญาของบุคคลผู้
ละถีนมิทธะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ)
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :324 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ อย่างนี้ (1)

(2) อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
[200] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้อง
ต้นให้หมดจด เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
ความประมาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
อวิชชา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ให้หมดจด
อินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกามฉันทะ
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 ให้หมดจด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :325 }