เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
คำว่า ท่าน นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่านนี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า บรรลุแล้ว ได้แก่ ถึงแล้ว
คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ได้แก่ หรือว่าจักถึง
สุตตันตนิทเทส ที่ 3 จบ

4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 4
[198] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น1
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์
2. วิริยินทรีย์
3. สตินทรีย์
4. สมาธินทรีย์
5. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการ นี้แล
อินทรีย์ 5 ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ อินทรีย์ 5 ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการ 6 อย่าง เพราะมีสภาวะอย่างนี้
คือ พึงเห็นเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้น
ให้หมดจด เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เพราะมีสภาวะ
ทำให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
1 สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ 1 (ข้อ 184 หน้า 290 ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :322 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 4. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(1) อาธิปเตยยัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเป็นใหญ่
[199] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคล
ผู้ละความไม่มีศรัทธา (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้แห่งบุคคลผู้ละ
ความเกียจคร้าน (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นแห่งบุคคลผู้ละความ
ประมาท (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละ
อุทธัจจะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :323 }