เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
7. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้”
ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
8. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา (ความประพฤติด้วย
ความเห็น)
2. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการปลูกฝังความดำริ)
3. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา (ความประพฤติด้วย
การกำหนดสำรวมวจี 4 อย่าง )
4. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา (ความประพฤติ
ด้วยความหมั่น)
5. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา (ความประพฤติด้วย
ความผ่องแผ้ว)
6. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการประคองความเพียร)
7. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา (ความประพฤติด้วย
การเข้าไปตั้งสติ)
8. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา (ความประพฤติด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง1
คำว่า ความเป็นอยู่ อธิบายว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้
ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. (แปล) 30/121/399-401

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :320 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ตรัสรู้แล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
คำว่า รู้แจ้งแล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้ง
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
คำว่า ตามที่ประพฤติ อธิบายว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ประพฤติด้วยสติอย่างนี้ ประพฤติด้วยสมาธิอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ปัญญาอย่างนี้
คำว่า ตามที่เป็นอยู่ อธิบายว่า เป็นอยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยความ
เพียรอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสติอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยปัญญา
อย่างนี้
คำว่า ผู้รู้แจ้ง อธิบายว่า ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้
คำว่า สพรหมจารี อธิบายว่า ผู้ที่มีกรรมอย่างเดียวกัน มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
มีสิกขาเสมอกัน
คำว่า ในฐานะที่ลึกซึ้ง อธิบายว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค
ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะที่ลึกซึ้ง
คำว่า มั่นใจ ได้แก่ พึงเชื่อ คือ พึงน้อมไป
คำว่า แน่ นี้เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าว
โดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 อย่าง
เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า แน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้
แน่นอน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :321 }