เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
7. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้”
ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
8. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา (ความประพฤติด้วย
ความเห็น)
2. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการปลูกฝังความดำริ)
3. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา (ความประพฤติด้วย
การกำหนดสำรวมวจี 4 อย่าง )
4. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา (ความประพฤติ
ด้วยความหมั่น)
5. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา (ความประพฤติด้วย
ความผ่องแผ้ว)
6. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการประคองความเพียร)
7. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา (ความประพฤติด้วย
การเข้าไปตั้งสติ)
8. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา (ความประพฤติด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง1
คำว่า ความเป็นอยู่ อธิบายว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้
ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. (แปล) 30/121/399-401

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :320 }