เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :317 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้

จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[197] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ
ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่”
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ 8 อย่าง ได้แก่
1. ความประพฤติในอิริยาบถ
2. ความประพฤติในอายตนะ
3. ความประพฤติในสติ
4. ความประพฤติในสมาธิ
5. ความประพฤติในญาณ
6. ความประพฤติในมรรค
7. ความประพฤติในผล
8. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :318 }