เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :317 }