เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่ง
สตินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :316 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :317 }