เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20
อย่างนี้

(2) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[196] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :314 }