เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
(1) ปเภทคณนนิทเทส
แสดงอินทรีย์ตามหมวดธรรมต่าง ๆ
[195] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติ-
ยังคะคือการคบสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการฟังสัทธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ
20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :311 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมไป
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 20 อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ
การพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ
20 อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :312 }