เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิจจานุปัสสนา ได้อนิจจานุปัสสนาแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ทุกขานุปัสสนา ได้ทุกขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนัตตานุปัสสนา
ได้อนัตตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิพพิทานุปัสสนา ได้นิพพิทานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้วิราคานุปัสสนา ได้วิราคานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคล
นั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิโรธานุปัสสนา
ได้นิโรธานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ขยานุปัสสนา ได้ขยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วยานุปัสสนา ได้
วยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิปริณามานุปัสสนา ได้วิปริณามานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิมิตตานุปัสสนา ได้อนิมิตตานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้อัปปณิหิตานุปัสสนา ได้อัปปณิหิตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็น
ธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
สุญญตานุปัสสนา ได้สุญญตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด
รู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :31 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
แล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้ยถาภูตญาณ-
ทัสสนะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาทีนวานุปัสสนา ได้อาทีนวานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
ปฏิสังขานุปัสสนา ได้ปฏิสังขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิวัฏฏนานุปัสสนา
ได้วิวัฏฏนานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค ได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้สกทาคามิมรรค ได้สกทาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ได้อนาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค ได้อรหัตตมรรคแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการ
ได้ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
กำหนดรู้” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (2)
[23] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรละ คือ อัสมิมานะ1
ธรรม 2 อย่างที่ควรละ คือ อวิชชา 1 ภวตัณหา 1
ธรรม 3 อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรละ คือ โอฆะ 4

เชิงอรรถ :
1 อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่ามีอยู่ในอุปาทานขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้น (ขุ.ป.อ. 1/23/127)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :32 }