เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ 5 ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกจากสัญโญคาภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกจากกิเลสซึ่งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
อินทรีย์ 5 ในสกทาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างหยาบ
อินทรีย์ 5 ในอนาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างละเอียด
อินทรีย์ 5 ในอรหัตตมรรค สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง
อินทรีย์ 5 ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกได้แล้ว สลัดออก
ดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
อินทรีย์ 5 มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ 180 อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 180 อย่างนี้

สุตตันตนิทเทสที่ 2 จบ
ปฐมภาณวาร จบ

3. ตติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 3
[194] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :309 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ1 4 พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน 4 พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ 4 พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่นี้
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 อย่าง

เชิงอรรถ :
1 โสตาปัตติยังคะ ได้แก่ (1) คบหาสัตบุรุษ (2) ฟังสัทธรรม (3) มนสิการโดยอุบายแยบคาย (4) ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม (ขุ.ป.อ. 2/194/160)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :310 }