เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ 5 ในจตุตถฌาน สลัดออกจากสุขและทุกข์
อินทรีย์ 5 ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา
อินทรีย์ 5 ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากาสานัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ 5 ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากวิญญาณัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ 5 ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากิญจัญญายตน-
สัญญา
อินทรีย์ 5 ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกจากนิจจสัญญา
อินทรีย์ 5 ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกจากสุขสัญญา
อินทรีย์ 5 ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกจากอัตตสัญญา
อินทรีย์ 5 ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกจากนันทิ
อินทรีย์ 5 ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกจากราคะ
อินทรีย์ 5 ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกจากสมุทัย
อินทรีย์ 5 ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกจากอาทานะ
อินทรีย์ 5 ในขยานุปัสสนา สลัดออกจากฆนสัญญา
อินทรีย์ 5 ในวยานุปัสสนา สลัดออกจากอายุหนะ
อินทรีย์ 5 ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกจากธุวสัญญา
อินทรีย์ 5 ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกจากนิมิต
อินทรีย์ 5 ในอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกจากปณิธิ
อินทรีย์ 5 ในสุญญตานุปัสสนา สลัดออกจากอภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา สลัดออกจากสาราทานาภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในยถาภูตญาณทัสสนะ สลัดออกจากสัมโมหาภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกจากอาลยาภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกจากอัปปฏิสังขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :308 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ 5 ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกจากสัญโญคาภินิเวส
อินทรีย์ 5 ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกจากกิเลสซึ่งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
อินทรีย์ 5 ในสกทาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างหยาบ
อินทรีย์ 5 ในอนาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างละเอียด
อินทรีย์ 5 ในอรหัตตมรรค สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง
อินทรีย์ 5 ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกได้แล้ว สลัดออก
ดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
อินทรีย์ 5 มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ 180 อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 180 อย่างนี้

สุตตันตนิทเทสที่ 2 จบ
ปฐมภาณวาร จบ

3. ตติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 3
[194] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :309 }