เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในวิราคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในนิโรธานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งขยานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวยานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5 ใน
ขยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในวยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในวิปริณามานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในอนิมิตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในอัปปณิหิตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในสุญญตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในยถาภูตญาณทัสสนะ
ด้วยอำนาจแห่งปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในอาทีนวานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ 5 จึงสลัดออกจากอินทรีย์ 5
ในปฏิสังขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :306 }