เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
15. สุขโสมนัสที่อาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
16. ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
17. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
18. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่ง
สมาธินทรีย์
19. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
20. สุขโสมนัสที่อาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
21. ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
22. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
23. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
24. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
25. สุขโสมนัสที่อาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 25 อย่างนี้

ข. อาทีนวนิทเทส
แสดงโทษ (แห่งอินทรีย์ 5)
[190] อินทรีย์ 5 มีโทษ เพราะอาการ 25 อย่าง เป็นอย่างไร บุคคล
รู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ 5 เพราะอาการ 25 อย่าง เป็นอย่างไร คือ
1. ความปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์
2. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เป็นโทษ
แห่งสัทธินทรีย์
3. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
4. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
5. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
6. ความปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์
7. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เป็นโทษ
แห่งวิริยินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :302 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
8. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
9. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
10. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
11. ความปรากฏแห่งความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์
12. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นโทษแห่ง
สตินทรีย์
13. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
14. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
15. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
16. ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์
17. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่ง
สมาธินทรีย์
18. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
19. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
20. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
21. ความปรากฏแห่งอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
22. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
23. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
24. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
25. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
อินทรีย์ 5 มีโทษ เพราะอาการ 25 อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ 5
เพราะอาการ 25 อย่างนี้

ค. นิสสรณนิทเทส
แสดงเครื่องสลัดออก (จากอินทรีย์ 5)
[191] อินทรีย์ 5 มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ 180 อย่าง เป็นอย่างไร
บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 180 อย่าง เป็นอย่างไร คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :303 }