เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
[188] อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิด ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ 5 มีความดับ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดความดับแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ 5 มีคุณ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ 5 มีโทษ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ 5 มีเครื่องสลัดออก ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40 อย่าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 อย่าง
อินทรีย์ 5 มีความดับด้วยอาการ 40 อย่าง บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 อย่าง
อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 อย่าง บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 25 อย่าง
อินทรีย์ 5 มีโทษด้วยอาการ 25 อย่าง บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 25 อย่าง
อินทรีย์ 5 มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ 180 อย่าง บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออก
จากอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 180 อย่าง
อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40 อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์
2. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สัทธินทรีย์
3. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :295 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
4. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียว1ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสัทธินทรีย์
5. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นเหตุ
เกิดแห่งวิริยินทรีย์
6. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
7. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่ง
วิริยินทรีย์
8. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งวิริยินทรีย์
9. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
10. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
11. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
12. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
13. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
14. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
15. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
16. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์
17. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
18. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์

เชิงอรรถ :
1 สภาวะเดียว หมายถึงอารมณ์เดียว (ขุ.ป.อ. 2/188/156)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :296 }