เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิผล อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอรหัตตมรรค
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว ระงับดีแล้วในขณะ
แห่งอรหัตตผล
มัคควิสุทธิ 4 ผลวิสุทธิ 4 สมุจเฉทวิสุทธิ 4 ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ 4 ด้วย
ประการดังนี้ อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 4 อย่างนี้ อินทรีย์ 5
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ 4 อย่างนี้
บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่าเจริญ
อินทรีย์แล้ว
คือ บุคคล 8 จำพวกชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล 3 จำพวกชื่อว่า
เจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล 8 จำพวกไหน ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์
คือ พระเสขบุคคล 7 กัลยาณปุถุชน 1 บุคคล 8 จำพวกนี้ชื่อว่ากำลัง
เจริญอินทรีย์
บุคคล 3 จำพวกไหน ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว คือ
1. พระขีณาสพสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะ
รู้ด้วยอำนาจความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
2. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะมีสภาวะตรัสรู้เอง
3. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะมีสภาวะมีพระคุณหาประมาณมิได้
บุคคล 3 จำพวกนี้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคล 8 จำพวกนี้ ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล 3 จำพวกนี้
ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว

สุตตันตนิทเทสที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :293 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 2
[187] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ 5 นี้และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 นี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หาได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ
หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้
แจ้งสามัญญผล1และพรหมัญญผล2 ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ 5 นี้ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 นี้ตาม
ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่
สมณะ ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมทำ
ให้แจ้งสามัญญผลและพรหมัญญผล ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
1 สามัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นสมณะ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงผลเบื้องต่ำ 3 ประการ (ขุ.ป.อ.
2/187/155)
2 พรหมัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ป.อ.
2/187/155)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :294 }