เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
3. วิริยินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
เกียจคร้านดีแล้ว
4. ความเกียจคร้านเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
วิริยินทรีย์ดีแล้ว
5. สตินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
ประมาทดีแล้ว
6. ความประมาทเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สตินทรีย์ดีแล้ว
7. สมาธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อุทธัจจะดีแล้ว
8. อุทธัจจะเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สมาธินทรีย์ดีแล้ว
9. ปัญญินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อวิชชาดีแล้ว
10. อวิชชาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
ปัญญินทรีย์ดีแล้ว
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ 10 อย่างนี้
[186] อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5 เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 4 อย่าง อินทรีย์ 5 เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ 4 อย่าง
อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งสกทาคามิผล อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอนาคามิมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :292 }