เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
4. อินทริยกถา
ว่าด้วยอินทรีย์
1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 1
[184] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล
[185] อินทรีย์ 5 ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ 15 อย่าง ได้แก่
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ
3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีความเพียร
(และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
(และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
(และ) พิจารณาฌานวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญาดี
(และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคล 5 จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล 5 จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร 5 ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ 15 อย่างนี้
อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ 5มีได้
ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 10 อย่าง การเจริญอินทรีย์ 5
มีได้ด้วยอาการ 10 อย่าง บุคคลเมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความไม่มีศรัทธา เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ
ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา อินทรีย์ 5 อันบุคคล
ย่อมเจริญด้วยอาการ 10 อย่างนี้ การเจริญอินทรีย์ 5 มีได้ด้วยอาการ 10 อย่างนี้
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ 10 อย่าง ได้แก่
1. สัทธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
ความไม่มีศรัทธาดีแล้ว
2. ความไม่มีศรัทธาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สัทธินทรีย์ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :291 }