เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม 7 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ 71
ธรรม 8 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม 8
ธรรม 9 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส 92
ธรรม 10 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ 10
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ จักขุควรกำหนดรู้ รูปควรกำหนดรู้ จักขุวิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุสัมผัสควรกำหนดรู้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
โสตะควรกำหนดรู้ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรกำหนดรู้ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรกำหนดรู้ รส ฯลฯ
กายควรกำหนดรู้ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
มโนควรกำหนดรู้ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
รูปควรกำหนดรู้ เวทนาควรกำหนดรู้ สัญญาควรกำหนดรู้ สังขารควร
กำหนดรู้ วิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพานเพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรกำหนดรู้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้

เชิงอรรถ :
1 วิญญาณฐิติ 7 ได้แก่ (1) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า
วินิปาติกะ(เปรต)บางเหล่า (2) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวก
พรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (3) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพ
อาภัสสระ (4) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
(5) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (6) สัตว์บางพวกผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
(7) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. 1/21/120)
2 สัตตาวาส 9 ได้แก่ ข้อ (1-4) ตรงกับวิญญาณฐิติ 4 ข้อต้น, (5) สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวย
เวทนา เช่น เหล่าเทพอสัญญีสัตว์, ข้อ (6-8) ตรงกับวิญญาณฐิติ ข้อที่ 5-7, (9) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึง
ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. 1/21/124)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :29 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้
[22] บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนกขัมมะ ได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้อพยาบาท ได้อพยาบาทแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาโลกสัญญา ได้อาโลก-
สัญญาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคล
พยายามเพื่อต้องการได้อวิกเขปะ ได้อวิกเขปะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ธัมมววัตถาน
ได้ธัมมววัตถานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ญาณ ได้ญาณแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปามุชชะ
ได้ปามุชชะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฐมฌาน ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ทุติย-
ฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้จตุตถฌาน ได้จตุตถ-
ฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :30 }