เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา 3 นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก เวทนา
ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์
ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร
และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (4)
อนุปัสสนาญาณ 8 อุปัฏฐานานุสสติ 8 สุตตันติกวัตถุ 4 ในการพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ญาณในการทำสติ 32 ประการเหล่านี้

สโตการิญาณนิทเทสที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 6. ญาณราสิฉักกนิทเทส
6. ญาณราสิฉักกนิทเทส
แสดงหมวด 6 แห่งกองญาณ
[183] ญาณด้วยอำนาจแห่งสมาธิ 24 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
ความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ญาณด้วยอำนาจแห่ง
สมาธิ 24 นี้ (1)
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา 72 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
ไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
เป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา
ฯลฯ
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นอนัตตา
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา 72 นี้ (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :287 }