เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส

โทษในสังขารมี เพราะอาการเท่าไร สังขารดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในวิญญาณมี เพราะอาการเท่าไร วิญญาณดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในนามรูปมี เพราะอาการเท่าไร นามรูปดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในสฬายตนะมี เพราะอาการเท่าไร สฬายตนะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในผัสสะมี เพราะอาการเท่าไร ผัสสะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในเวทนามี เพราะอาการเท่าไร เวทนาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในตัณหามี เพราะอาการเท่าไร ตัณหาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในอุปาทานมี เพราะอาการเท่าไร อุปาทานดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในภพมี เพราะอาการเท่าไร ภพดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในชาติมี เพราะอาการเท่าไร ชาติดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการเท่าไร ชราและมรณะดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ 5 อย่าง ชราและมรณะดับ เพราะอาการ
8 อย่าง
โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ 5 อย่าง อะไรบ้าง คือ

1. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
2. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
3. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
4. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
5. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะแปรผัน

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ 5 อย่างนี้
ชราและมรณะดับ เพราะอาการ 8 อย่าง อะไรบ้าง คือ

1. ชราและมรณะดับ เพราะต้นเหตุดับ
2. ฯลฯ เพราะสมุทัยดับ
3. ฯลฯ เพราะชาติดับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :283 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส

4. ชราและมรณะดับ เพราะภพดับ
5. ฯลฯ เพราะเหตุดับ
6. ฯลฯ เพราะปัจจัยดับ
7. ฯลฯ เพราะญาณเกิดขึ้น
8. ชราและมรณะดับ เพราะนิโรธปรากฏ

ชราและมรณะดับ เพราะอาการ 8 อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในชราและมรณะ เพราะอาการ 5 อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะ
ในความดับแห่งชราและมรณะ เพราะอาการ 8 อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมี
จิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลาย
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์” (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :284 }