เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท-
ญาณ1 เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง
[20] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี
สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา
เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ...
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง
ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี
สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ
มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (1)
ทุติยภาณวาร จบ

[21] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรม 2 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม 1 รูป 1
ธรรม 3 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร 4
ธรรม 5 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ 5
ธรรม 6 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน 6

เชิงอรรถ :
1 อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. 1/19/117)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :28 }