เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (4)
อนุปัสสนาญาณ 8 อุปัฏฐานานุสสติ 8 สุตตันติกวัตถุ 4 ในการพิจารณา
เห็นจิตในจิต
ภาณวาร จบ

จตุตถจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด 4 แห่งญาณที่ 4
[180] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” อย่างไร
คือ คำว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า อะไรไม่เที่ยง คือเบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะเป็นอย่างไร คือไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไป
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ 25 ฯลฯ1
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ 50 นี้

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 50 หน้า 77 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :279 }