เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
กายิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากกายสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็น
กายิกสุข
เจตสิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น
เจตสิกสุข
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึก
ด้วย ภิกษุพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้สุขระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :272 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (2)
[174] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจ
ออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ฯลฯ สัญญาและ
เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ฯลฯ สัญญาและเวทนา
ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
นี้ชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อม
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :273 }