เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก กายย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็น
เป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ
เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา 3 นี้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย-
สังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (4)
อนุปัสสนาญาณ 8 อุปัฏฐานุสสติ 8 และสุตตันติกวัตถุ 4 ในการพิจารณา
เห็นกายในกาย
ภาณวารจบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :269 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด 4 แห่งญาณที่ 2
[172] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร
ปีติ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย
อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ
ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ
นี้ชื่อว่าปีติ
ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย
สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :270 }