เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ 9 อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกสั้น เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจออกสั้น ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์” (2)
[170] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” อย่างไร
คำว่า กาย อธิบายว่า กายมี 2 อย่าง คือ
1. นามกาย
2. รูปกาย
นามกาย เป็นอย่างไร
คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม นามกายและสิ่งที่เรียกว่า
จิตตสังขาร นี้ชื่อว่านามกาย
รูปกาย เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป 4 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ลมหายใจเข้าหายใจออก นิมิต
และสิ่งที่เนื่องกันซึ่งเรียกว่า กายสังขาร นี้ชื่อว่ารูปกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :265 }