เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
[168] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้
สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี
สภาวะเห็น บุคคลนี้1ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ
สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง
อย่างไร

เชิงอรรถ :
1 บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. 2/168/128)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
คือ ภิกษุให้สัทธาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา ให้วิริยพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
ให้สติพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ให้สมาธิพละ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ให้ปัญญาพละประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา บุคคลนี้ให้พละเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้พละทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น ให้วิริยสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้ปีติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป
ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะสงบ ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณา
บุคคลนี้ให้โพชฌงค์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้มรรคประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้มรรคประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัมมาทิฏฐิประชุมลง เพราะมีสภาวะเห็น ให้สัมมาสังกัปปะประชุม
ลง เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ให้สัมมาวาจาประชุมลง เพราะมีสภาวะกำหนด ให้
สัมมากัมมันตะประชุมลง เพราะมีสภาวะเกิดขึ้น ให้สัมมาอาชีวะประชุมลง เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ให้สัมมาวายามะประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สัมมาสติ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมาสมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ให้มรรคนี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้มรรคประชุมลง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :262 }