เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง
วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็
ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :260 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
[168] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้
สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี
สภาวะเห็น บุคคลนี้1ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ
สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง
อย่างไร

เชิงอรรถ :
1 บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. 2/168/128)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :261 }