เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง
วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็
ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :260 }