เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่เป็นของแท้ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นอนัตตา ... สภาวะที่เป็นจริง ...
สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ยิ่ง ... สภาวะที่กำหนดรู้ ... สภาวะที่เป็นธรรม ...
สภาวะที่เป็นธาตุ ... สภาวะที่รู้ ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง ... สภาวะที่ถูกต้อง ... สภาวะ
ที่ตรัสรู้ควรรู้ยิ่ง
[18] เนกขัมมะ (การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท (ความไม่พยาบาท)
... อาโลกสัญญา (ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)
... ธัมมววัตถาน (ความกำหนดธรรม) ... ญาณ (ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุ-
ปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ... วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความ
เสื่อมไป) ... วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ... อนิมิตตานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ... อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นความไม่มีที่ตั้ง) ... สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ...
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ... ยถาภูต-
ญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ... อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นโทษ) ... ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ... วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง
[19] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ... สกทาคามิมรรค ...
สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ...
อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :26 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี
สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า
สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ...
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่
หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี
สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :27 }