เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ
(ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :259 }