เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
[167] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม
คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ
อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :258 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ
(ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :259 }