เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
สละคืนหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่า
เป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

ปฐมจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด 4 แห่งญาณที่ 1
[166] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก
ยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ฉันทะเกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว หายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว ความปราโมทย์
เกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว หาย
ใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว
จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าหายใจออกยาว
อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ 9 อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :257 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
[167] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม
คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ
อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :258 }