เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
[164] คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความ
พอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้
สัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน พระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ ผู้มีธรรมไม่กำเริบ
คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ทุกแห่งนอกจากเสาเขื่อนออกไป สถานที่นั้น
ทั้งหมด ชื่อว่าป่า
คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
เสื่ออ่อน ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องลาด
ทำด้วยฟาง ภิกษุยืน เดิน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น
คำว่า ว่าง อธิบายว่า เป็นสถานที่ไม่พลุกพล่านด้วยใคร ๆ จะเป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต
คำว่า เรือน อธิบายว่า วิหาร โรงที่มุงไว้ครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์
คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายเป็นกายที่ภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง
คำว่า เฉพาะ ในคำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีการกำหนดถือเอาเป็นอรรถ
คำว่า หน้า มีการนำออกเป็นอรรถ คำว่า สติ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
[165] คำว่า มีสติ หายใจเข้า อธิบายว่า ภิกษุทำสติโดยอาการ 32 อย่าง
คือ ภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็น
ผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :256 }