เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้
เฉพาะซึ่งความรู้
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา
ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตทรงตั้ง มิใช่
สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม1 เป็นสัจฉิกาบัญญัติ2ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น3
คำว่า ทรงแสดงไว้ อธิบายว่า ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ฯลฯ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตน
ให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ
คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ หรือผู้ที่เป็นบรรพชิต
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติวิภวโลก
โลก 1 คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ฯลฯ
โลก 18 คือ ธาตุ 18

เชิงอรรถ :
1 วิโมกขันติกนาม หมายถึงพระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. 2/162/100)
2 สัจฉิกาบัญญัติ หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล อีกนัยหนึ่งคือบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ทั้งปวง (ขุ.ป.อ. 2/162/100)
3 ขุ.ม.(แปล) 29/192/551-552

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :253 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง
เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ
หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง
แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ
รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
ญาณในโวทาน 13 ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ 4 จบ
ภาณวารจบ

5. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[163] ญาณในการทำสติ 32 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์1
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ
1. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
2. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
3. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
4. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เชิงอรรถ :
1 นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. 1/165/445)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :254 }