เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
4. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น
[161] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี
ความเสมอ เป็นอย่างไร
คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้
นี้ชื่อว่าความเสมอ
ความเสมอดี เป็นอย่างไร
คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี
ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น
ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ
ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติ
อันมีวัตถุ 16 แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :251 }